เมนู

ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวายามะ พวกมิจฉาสติ
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสติ พวกมิจฉาสมาธิ ย่อม
คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาสมาธิ พวกมิจฉาญาณะ ย่อม
คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาญาณะ พวกมิจฉาวิมุตติ ย่อม
คบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกมิจฉาวิมุตติ.
[402] พวกสัมมาทิฏฐิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
สัมมาทิฏฐิ พวกสัมมาสังกัปปะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
สัมมาสังกัปปะ พวกสัมมาวาจา ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
สัมมาวาจา พวกสัมมากัมมันตะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
สัมมากัมมันตะ พวกสัมมาอาชีวะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
กับพวกสัมมาอาชีวะ พวกสัมมาวายามะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
กับพวกสัมมาวายามะ พวกสัมมาสติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
กับพวกสัมมาสติ พวกสัมมาสมาธิ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
กับพวกสัมมาสมาธิ พวกสัมมาญาณะ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
กับพวกสัมมาญาณะ พวกสัมมาวิมุตติ ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับ
พวกสัมมาวิมุตติ.
จบ ทสังคิกสูตรที่ 7

อรรถกถาทสังคิกสูตรที่ 7


ทสังคิกสูตรที่ 7

ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจมิจฉัตตะ 10 และสัมมัตตะ
10. ในบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉาญาณิโน ความว่า ผู้ประกอบด้วยความรู้
ผิดและการพิจารณาผิด. บทว่า มิจฺฉาวิมุตฺติโน ได้แก่พวกที่ยังไม่หลุด

พ้นออกจากทุกข์ คือยึดถือว่าเป็นกุศลวิมุตติ ตั้งอยู่. ว่า สมฺมาญาณิโน
คือการพิจารณาโดยชอบ. บทว่า สมฺมาวิมุตฺติโน ความว่า ผู้ประกอบ
ด้วยผลวิมุตติ อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.
จบอรรถกถาทสังคิกสูตรที่ 7
จบทสกัมมปถวรรคที่ 3

[ในที่ทุกแห่งพึงทำอดีตอนาคตปัจจุบัน]

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. อสมาหิตสูตร 2. ทุสสีลสูตร
3. ปัญจสิกขาปทสูตร 4. สัตตกัมมปกสูตร
5. ทสกัมมปถสูตร 6. อัฏฐังคิกสูตร
7. ทสังคิกสูตร
8.
จบทสกมมปถวรรคที่ 3

จตุตถวรรคที่ 4



1. จตัสสสูตร

1

ว่าด้วยธาตุ 4 ประการ



[403] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้-
มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธาตุเหล่านี้มี 4 อย่าง คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ
วาโยธาตุ ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ 4 อย่างเหล่านี้แล ดังนี้.
จบจตัสสสูตรที่ 1

จตุตถวรรคที่ 4



อรรถกถาจตัสสสูตรที่ 1



พึงทราบวินิจฉัยในจตัสสสูตรที่ 1 แห่งจตุตถวรรคที่ 4 ดังต่อไปนี้.
ธาตุที่เป็นที่ตั้ง ชื่อว่า ปฐวีธาตุ. ธาตุที่เอิบอาบ ชื่อว่า อาโปธาตุ.
ธาตุที่ให้ย่อย ชื่อว่า เตโชธาตุ. ธาตุที่เคร่งตึง ชื่อว่า วาโยธาตุ.
นี้เป็นความสังเขปในที่นี้. ส่วนความพิสดาร พึงทราบธาตุเหล่านั้น ด้วย
อำนาจโกฏฐาสะ 20 เป็นต้น.
จบอรรถกถาจตัสสสูตรที่ 1
1. ม. จตุธาตุสูตร.